วันพฤหัสบดีที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ลูกแรดเตรียมพร้อมล่าเหยื่อ

สิ่งที่ได้รับจากการเรียนวิชาการเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพบริหารธุรกิจ คือ ได้รับความรู้ในแขนงอื่นๆที่ไม่ใช่แขนงของตนเอง ซึ่งสามารถนำไปใช้ในการทำงานในอนาคตได้ และยังได้ฝึกประสบการณ์ในการทำงานจริง ทั้งในเรื่องการทำโครงการเพื่อให้ความรู้แก่น้องๆ และ การฝึกปฏิบัติงาน เป็นต้น และยังได้ฝึกในเรื่องของระเบียบวินัย เช่น การแต่งกาย การตรงต่อเวลา การรับผิดชอบต่อหน้าที่ เป็นต้น

วันพุธที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2552

DTS 08-24/08/2009

Tree
ทรี (Tree) เป็นโครงสร้างข้อมูลที่ความสัมพันธ์ระหว่าง โหนดจะมีความสัมพันธ์ลดหลั่นกันเป็นลำดับชั้น (Hierarchical Relationship)ได้มีการนำรูปแบบทรีไปประยุกต์ใช้ในงานต่าง ๆ อย่างแพร่หลาย ส่วนมากจะใช้สำหรับแสดงความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลแต่ละโหนดจะมีความสัมพันธ์กับโหนดในระดับที่ต่ำลงมา หนึ่งระดับได้หลาย ๆ โหนดเรียกโหนดดังกล่าวว่า โหนดแม่ (Parent orMother Node)โหนดที่อยู่ต่ำกว่าโหนดแม่อยู่หนึ่งระดับเรียกว่า โหนดลูก (Child or Son Node)โหนดที่อยู่ในระดับสูงสุดและไม่มีโหนดแม่เรียกว่า โหนดราก (Root Node)โหนดที่มีโหนดแม่เป็นโหนดเดียวกันเรียกว่า โหนดพี่น้อง (Siblings)โหนดที่ไม่มีโหนดลูก เรียกว่าโหนดใบ (Leave Node)เส้นเชื่อมแสดงความสัมพันธ์ระหว่างโหนดสองโหนด

DTS 07-04/08/2009

Strack
สแตก(Stack) เป็นโครงสร้างข้อมูลที่ข้อมูลแบบลิเนียร์ลิสต์ ที่มีคุณสมบัติที่ว่า การเพิ่มหรือลบข้อมูลในสแตกจะกระทำที่ ปลายข้างเดียวกัน ซึ่งเรียกว่า Top ของสแตก (TopOf Stack) และ ลักษณะที่สำคัญของสแตก
การดำเนินงานพื้นฐานของสแตกการทำงานต่าง ๆ ของสแตกจะกระทำที่ปลายข้างหนึ่งของ สแตกเท่านั้น ดังนั้นจะต้องมีตัวชี้ตำแหน่งข้อมูลบนสุดของสแตกด้วย

การทำงานของสแตกจะประกอบด้วยกระบวนการ 3 กระบวนการที่สำคัญ คือ
1.Push คือ การนำข้อมูลใส่ลงไปในสแตก
2. Pop คือ การนำข้อมูลออกจากส่วนบนสุดของสแตก
3. Stack Top เป็นการคัดลอกข้อมูลที่อยู่บนสุดของสแตก แต่ไม่ได้นำเอาข้อมูลนั้นออกจากสแตก

ขั้นตอนการแปลงจากนิพจน์ Infix เป็นนิพจน์ Postfix
1. อ่านอักขระในนิพจน์ Infix เข้ามาทีละตัว
2. ถ้าเป็นตัวถูกดำเนินการจะถูกย้ายไปเป็นตัวอักษรในนิพจน์ Postfix
3. ถ้าเป็นตัวดำเนินการ จะนำค่าลำดับความสำคัญของตัว ดำเนินการที่อ่านเข้ามาเทียบกับค่าลำดับความสำคัญของตัวดำเนินการที่อยู่บนสุดของสแตก- ถ้ามีความสำคัญมากกว่า จะถูก push ลงในสแตก- ถ้ามีความสำคัญน้อยกว่าหรือเท่ากัน จะต้อง pop ตัวดำเนินการที่อยู่ในสแตกขณะนั้นไปเรียงต่อกับตัวอักษรในนิพจน์ Postfix
4. ตัวดำเนินการที่เป็นวงเล็บปิด “)” จะไม่ push ลงในสแตกแต่มีผลให้ตัวดำเนินการอื่น ๆ ถูก pop ออกจากสแตกนำไป เรียงต่อกันในนิพจน์ Postfix จนกว่าจะเจอ “(” จะ popวงเล็บเปิดออกจากสแตกแต่ไม่นำไปเรียงต่อ
5. เมื่อทำการอ่านตัวอักษรในนิพจน์ Infixหมดแล้ว ให้ทำการ Pop ตัวดำเนินการทุกตัวในสแตกนำมาเรียงต่อในนิพจน์ Postfix

วันอังคารที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2552

DTS 06-02/08/2009

Linked List
เป็นวิธีการเก็บข้อมูลอย่างต่อเนื่องของอิลิเมนต์ต่างๆ
โดยมีพอยเตอร์เป็นตัวเชื่อมต่อ แตละอิลิเมนท์ เรียกว่าโนด
ซึ่งในแต่ละโนดจะประกอบไปด้วย 2 ส่วน คือ Data จะเก็บข้อมูล
ของอิลิเมนต์ และส่วนที่สองคือ Link Field จะทำหน้าที่เก็บ
ตำแหน่งของโนดต่อไปในลิสต์

โครงสร้างข้อมูลแบบลิงค์ลิสต์
แบ่งเป็น 2 ส่วน
1. Head Structure จะประกอบไปด้วย 3 ส่วน
ได้แก่ จำนวนโหนดในลิสต์ (Count) พอยเตอร์ที่ชี้ไปยัง
โหนดที่เข้าถึง (Pos) และพอยเตอร์ที่ชี้ไปยังโหนดข้อมูล
แรกของลิสต์ (Head)
2. Data Node Structure จะประกอบไปด้วยข้อมูล
(Data) และพอยเตอร์ที่ชี้ไปยังข้อมูลตัวถัดไป

Linked List แบบซับซ้อน
1. Circular Linked List เป็นลิงค์ลิสต์ที่สมาชิก
ตัวสุดท้ายมีตัวชี้ (list) ชี้ไปที่สมาชิกตัวแรกของ
ลิงค์ลิสต์ จะมีการทำงานไปในทิศทางเดียวเท่านั้น
คือเป็นแบบวงกลม
2. Double Linked List เป็นลิงค์ลิสต์ที่มีทิศ
ทางการทำงานแบบ 2 ทิศทาง ในลิงค์ลิสต์แบบ 2
ทิศทาง ส่วนข้อมูลจะมีตัวชี้ไปที่ข้อมูล
ก่อนหน้า (backward pointer) และตัวชี้ข้อมูลถัดไป
(forward pointer)

DTS 05-14/07/2009

โครงสร้างข้อมูลแบบเซ็ต
เป็นโครงสร้างข้อมูลที่ข้อมูลแต่ละตัวไม่มีความสัมพันธ์กัน ในภาษาซีจะไม่มีประเภทข้อมูลแบบเซ็ตนี้เหมือนกับในภาษาปาสคาล แต่สามารถใช้หลักการของการดำเนินงานแบบเซ็ตมาใช้ได้ตัวดำเนินการของเซ็ต (Set operators) ประกอบด้วย- set intersection- set union- set difference เป็นต้นโครงสร้างข้อมูลแบบสตริงสตริง (String) หรือ สตริงของอักขระ (CharacterString)เป็นข้อมูลที่ประกอบไปด้วยตัวอักษร ตัวเลขหรือเครื่องหมายเรียงติดต่อกันไปรวมทั้งช่องว่างการประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับข้อมูลที่เป็นสตริงมีการนำไปใช้สร้างโปรแกรมประเภทบรรณาธิการข้อความ(text editor)หรือโปรแกรมประเภทประมวลผลคำ (word processing) ซึ่งมีการทำงานที่อำนวยความสะดวกหลายอย่างเช่น การตรวจสอบข้อความการจัดแนวข้อความในแต่ละย่อหน้า และการค้นหาคำ เป็นต้น

วันอาทิตย์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

DTS 04-30/06/2552

การกำหนด Array
ต้องกำหนดชื่อ พร้อม subscript มีได้มากกว่า 1 ตัว จำนวน subscript จะเป็นตัวบอกมิติของอะเรย์นั้น ถ้ามีมากกว่า 1 ตัวขึ้นไป จะเรียกว่า อะเรย์หลายมิติ
การกำหนด subscript แต่ละตัว จะประกอบด้วยค่าสูงสุดและต่ำสุดของ subscript นั้น ค่า subscript ที่ใช้อ้างอิงถึงสมาชิก จะต้องมีค่ามากกว่า หรือเท่ากับขอบเขตล่าง และน้อยกว่าหรือเท่ากับขอบเขตบน

Record orStructure
เ็ป็นโครงสร้างข้อมูลที่ประกอบขึ้นมาจากข้อมูลพื้นฐานต่างประเภทกัน รวมเป็น 1 ชุดข้อมูล ประกอบด้วย data element หรือ field ต่างประเภทกันอยู่รวมกัน ในภาษา c คือการกำหนดข้อมูลเป็นรูปแบบของ structure
Structure คือ โครงสร้างที่สมาชิกแต่ละตัวมีประเภทข้อมูลต่างกันได้ โดยอาจมีสมาชิกเป็นจำนวนเต็ม ทศนิยม อักขระ อะเรย์ หรือพอยเตอร์ หรือแม้แต่ structure ด้วยกันก็ได้

การผ่าน structure ให้ฟังก์ชันมี 2 ประเภท
1 ส่งสมาชิกแต่ละตัวของ structure - สมาชิกแต่ละตัวของ structure สามารถส่งเป็นอาร์กิวเมนต์ของ ฟังก์ชัน และส่งกลับจากฟังก์ชันได้โดยใช้คำสั่ง return ซึ่งส่งทั้งค่าของตัวแปรใน structure และ ตำแหน่งของตัวแปรนั้น ไปยังฟังก์ชัน
2 ส่งทั้ง structure - จะส่งผ่านในลักษณะของพอยน์เตอร์ไปยัง structure โดยส่งเหมือนกับการส่งผ่า นอะเรย์ไปให้ฟังก์ชัน ที่เรียกว่า Pass by reference

Pointer เป็นตัวแปรชนิดหนึ่่งทำหน้าที่เก็บตัวแหน่งที่อยู่ (Address) ของตัวแปรที่อยู่ในหน่วยความจำ

วันอังคารที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2552

วันจันทร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2552

DTS 03-26/06/2552

โครงสร้างข้อมูล แบ่งออกเป็น 2 ประเภท
1. โครงสร้างข้อมูลทางกายภาพ
แบ่งออกเป็น 2 ประเภทตามลักษณะข้อมูล
-ข้อมูลเบื้องต้น เช่น จำนวนเต็ม จำนวนจริง ตัวอักขระ
-ข้อมูลโครงสร้าง เช่น แถวลำดับ ระเบียนข้อมูล แฟ้มข้อมูล
2. โครงสร้างข้อมูลทางตรรกะ
แบ่งออกเป็น 2 ประเภท
-โครงสร้างข้อมูลเชิงเส้น เช่น ลิสต์ สแตก คิว
-โครงสร้างข้อมูลทางตรรกะ เช่น ทรี กราฟ


การแทนที่ข้อมูลในหน่วยความจำหลัก มี 2 วิธี
1.การแทนที่ข้อมูลแบบสแตติก เป็นการแทนที่ข้อมูลที่มีการจองเนื้อที่แบบคงที่แน่นอน ต้องกำหนดขนาดก่อน
2.การแทนที่ข้อมูลแบบไดนามิก เป็นการแทนที่ข้อมูลที่ไม่ต้องจองเนื้อที่ ขนาดเนื้อที่ยืดหยุ่นได้ตามความต้องการ หน่วยคามจำที่ไม่ใช้สามารถส่งคืนเพื่อนำมาใช้ได้อีก

ภาษาอัลกอริทึม มีข้อกำหนดดังนี้
1.ตัวแปรจะต้องเขียนแทนด้วยตัวอักษรหรือตัวอักษรผสมตัวเลข
2.การกำหนดค่าให้ตัวแปร ใช้เครื่องหมาย
3.นิพจน์ที่เป็นการคำนวณจะมีลำดับขั้นของการคำนวณตามลำดับ
4.ข้อความไปยังขั้นตอน ใช้รูปแบบ คือ goto เลขที่ขั้นตอน
5.การเลือกทำตามเงื่อนไข ต้องตรวจสอบเงื่อนไขก่อน
6.การทำงานแบบซ้ำ
7.คำอธิบายเป็นข้อความที่อธิบายรายละเอียดของขั้นตอนการทำงาน จะอยู่ในเครื่องหมาย / และ /

DTS 02-23/06/2552

#include <stdio.h>
#include <string.h>
void main()
{
struct car {
char customer_name[30];
char tel_number[30];
char brand[30];
char series[10];
char price[30];
int total;
char date[30];
char personnel_name[30];
};

struct car sale;
strcpy(sale.customer_name,"Bunchu bunmee");
strcpy(sale.tel_number,"0847657987");
strcpy(sale.brand,"BMW");
strcpy(sale.series,"5");
strcpy(sale.price,"2300000");
sale.total=1;
strcpy(sale.date,"29/06/52");
strcpy(sale.personnel_name,"Tanawan kongsaeng");


printf("******car sale******\n\n");
printf("Customer name :%s\n\n",sale.customer_name);
printf("Telephone number :%s\n\n",sale.tel_number);
printf("Brand :%s\n\n",sale.brand);
printf("Series :%s\n\n",sale.series);
printf("Price :%s baht\n\n",sale.price);
printf("Total :%d\n\n",sale.total);
printf("Date :%s\n\n",sale.date);
printf("Personnel name :%s\n\n",sale.personnel_name);

}

วันอังคารที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ประวัติ



นายธนวันต์ คงแสง รหัสประจำตัว 50132792065

Mr.Tanawan Kongsaeng

หลักสูตร การบริหารธุรกิจ(คอมพิวเตอร์ธุรกิจ) คณะวิทยาการจัดการ

มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต

E-mail : u50132792065@gmail.com